วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับน่าน


น่าน ดินแดนแห่งล้านนาตะวันออกซึ่งมีความเก่าแก่รุ่นเดียวกับกรุงสุโขทัย มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมารวมทั้ง สิ้น 64 พระองค์ น่านมีชื่อเดิมว่า "นันทบุรี"หรือ "วรนคร" สร้างขึ้นโดยพระยาภูคาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบทางตอนใต้ในเขตตำบลศิลาเพชรหรืออำเภอปัวในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยพระยาการเมืองได้รับ พระบรมสารีริกธาตุจำนวน7 องค์มาจากกรุงสุโขทัย ทรงเลือกดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารี ริกธาตุ พร้อมกับย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่บริเวณเชิงดอย และในราวปี พ.ศ.1911 แม่น้ำน่านได้เปลี่ยนทิศทางไหล จึงได้ย้ายเมืองอีกครั้งมา ตั้งที่บ้านห้วยไค้ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองน่านปัจจุบัน ความที่ เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอม รวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบ ทำให้ เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุก ทุกวันนี้ ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นท้องทะเลแห่งขุนเขา อีกทั้ง สายลมหนาวและสายหมอกที่พัดผ่านทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำฝน หรือ เหลืองทองพร้อมจะเก็บเกี่ยว ยังทำให้ผู้มาเยือน เก็บความประทับใจกลับไปด้วยป้อมปราการธรรมชาติ ที่บดบังเมืองน่านจากคนต่างถิ่นก็คือเทือกเขาผีปันน้ำและ หลวงพระบาง พื้นที่ป่าของเมืองน่านมีประมาณ 5 ล้านไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งจังหวัดประมาณ 7 ล้านไร่ ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านเชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ จึงไม่สามารถฝืนกฎของธรรมชาติ ได้ พวกเขาจะไม่ตัดไม้หรือถางป่าทำไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ พวกเขาดูแลรักษาภูเขาและป่าไม้ด้วยความเคารพ ชาวเขา เผ่าต่างๆ เช่น ขมุ ลัวะ และเมี่ยน เชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่รักษาป่า พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำของจังหวัดน่านมีเพียง ร้อยละ 14 เท่านั้น จะกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาในอำเภอต่างๆ ชุมชนตามที่ราบลุ่มเหล่านี้จะใช้ระบบการทดน้ำท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ทุกปีเครือข่ายชุมชนที่ใช้ระบบการประปาร่วมกัน โดยเฉพาะ ไทลื้อ ลาวพวน จะร่วมกันจัดงานสักการะดวงวิญญาณที่ เฝ้าดูแลรักษาป่าแม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือด ของชาวน่านคือ แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อ เกลือ ซึ่งจะไหลขึ้นเหนือไป ทางอำเภอทุ่งช้าง ก่อนจะไหลลงใต้ ไปยังอำเภอปัว, ท่าวังผา, เมืองน่าน, เวียงสา หลังจากนั้นจะไหลลงไปยัง จังหวัดอื่น คือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ พิจิตร จึงไปรวมกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และ แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ร้อยละ 40 ของลำน้ำน่านนั้นหล่อเลี้ยงลำน้ำเจ้าพระยา ความเกี่ยวดอง กันด้วยศรัทธาในพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติที่มี ร่วมกันทำให้ชาวน่านมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งเรียนรู้ที่จะ อยู่กับความเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงตระหนักถึงความเป็น ตัวเองอยู่เสมอ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนู ด้วยสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบาย ฉุ่มฉ่ำตลอดปีจึง สามารถ เลือกเที่ยวน่านได้ทุกฤดู ความเงียบสงบเรียบง่ายน่าอยู่ รอยยิ้มของผู้คน วัดวาอารามเก่าแก่ คือ เสน่ห์ของเมืองน่าน
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพ สำหรับ ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติ ศาสตร์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่านและขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้ง ถิ่นฐานยัง ที่ราบลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการมือง ย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่า เมืองปัวแต่ ใกล้ กับ เมืองสุโขทัยมากขึ้นในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยา การเมืองได้ ย้ายเมืองมายัง ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย)ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกัน และ กันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้างและสิบ สองปันนารัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วย คาราวานเกวียน ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสอง ดินแดนมีความสัมพันธ์กัน ผ่าน การค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตก่เป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมือง น่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้ การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ. 2310ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายาม ต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลงในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมือง น่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1)เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่ เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่า อาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วน กลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผุ้ครองนครใน การบริหารกิจการบ้านเมือหลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดน ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระบางในลาว ซึ่งเป็นของ ฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดีรัชกาลที่5โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้า สุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงคราม ปราบ กบฏที่เชียงตุงนครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจาก เจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครอง โดยเจ้า ผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา